วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

ยีนควบคุมความหอมในข้าว


                            ค้นพบยีนควบคุมความหอมในข้าว

นักวิจัย มก. เจ๋ง พบยีนความหอมในข้าว นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค้นพบยีนควบคุมความหอมในข้าว มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยในการปกป้องการนำยีนความหอมไปใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตสารหอมในข้าว ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ผลงานการค้นพบที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวดังกล่าวนี้ เป็นของ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร เผยว่า การวิจัยค้นหายีนความหอมของข้าวขาวดอกมะลิ เริ่มทำการทดลองในปี 2537 ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขั้นตอนแรก การหาตำแหน่งยีนข้าวว่าอยู่โครโมโซมแท่งที่เท่าไร โดยใช้เวลาในการวิจัยประมาณ 4 ปี เพราะตำแหน่งที่อยู่ของยีนตัวนี้คือโครโมโซมแท่งที่ 8 มีอาณาเขตที่ยีนตัวนี้อยู่ที่ประมาณ 4.5 ล้านเบส ซึ่งก็กว้างมาก จากนั้นได้ดำเนินการต่อเนื่องอีก 3 ปี โดยร่วมกับนานาชาติในการถอดรหัสจีโนมของข้าวญี่ปุ่น ทำให้ได้ข้อมูลของสาธารณะเข้ามาในการวิจัย จึงลดขนาดพื้นที่การทำงานลงได้มาก “เราได้แสดงให้เห็นว่าชิ้นส่วนของสารพันธุกรรม ซึ่งมีขนาดไม่กี่ร้อยเบสที่อยู่ในข้าวที่ไม่หอม เช่น ข้าวนิปปอนบาร์เลย์ หรือข้าวญี่ปุ่น ก็ผลิตสารหอมได้ปริมาณเท่ากับข้าวหอมมะลิ แต่รับประทานอร่อยไม่เหมือนกัน [...]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น